พระธาตุนคร : วันเสาร์ ประจำวันเกิดวันเสาร์

พระธาตุนคร : ประจำวันเสาร์

 

พระธาตุนคร

"พระธาตุนคร อ.เมือง จ.นครพนม"
พระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์
ผู้ใดได้ไปนมัสการ จะได้รับอานิสงส์ให้มีบุญบารมีเป็นเจ้าคนนายคน

 

พระธาตุนคร พระธาตุประจำวันเสาร์
ประดิษฐานที่วัดมหาธาตุ ถ.สุนทรวิจิตร อ.เมือง บรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุ พร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำ และของมีค่าต่างๆ ที่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้ถวาย ผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุแห่งนี้ จะได้รับอานิสงส์เสริมบุญบารมี และมีอำนาจวาสนาเป็นเจ้าคนนายคน

 สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ธูป 10 ดอก เทียน 2 เล่ม

 

พระธาตุนคร 

              ที่ตั้งวัดมหาธาตุตำบลในเมืองอำเภอจังหวัดนครพนม ประวัติในวันแรกที่พระยามหาอำมาตย์(ป้อม)สร้างเมืองนครพนมขึ้นนั้นมีเพียง วัดมหาธาตุ วัดเดียวเท่านั้นจึงขนานนามว่า วัดมิ่งเมือง(คือวัดมหาธาตุในปัจจุบัน)เป็นวัดใหญ่ประจำเมืองเป็นศูนย์กลางการปกครองการศึกษามีพระมหาเถระมีครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ้ป็นผู้ปกครองดูแลและอำนวยการศึกษาอยู่เป็นประจำและเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการใหญ่น้อยยุคต่อมา วัดมิ่งเมืองชาวบ้านทั่วไปเรียกกันติดปากว่า วัดธาตุ ทั้งนี้เพราะผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสู่ลูกหลานเป็นทอด ๆ มาว่าที่วัดมิ่งเมืองนี้มีพระอรหันตสารีริกธาตุ บรรจุอยู่ในธาตุเจดีย์องค์หนึ่งภายในบริเวณวัดมิ่งเมืองมีธาตุเจดีย์ใหญ่บ้างเล็กบ้างหลายสิบองค์เจ้าบ้านผู้ปกครองบ้านเมืองแต่ก่อนนิยมสร้างเจดีย์เป็นที่บรรจุอัฐิของบิดามารดาปู่ย่าตายายไว้ในวัดยิ่งถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็นิยมสร้างไว้ในวัดใหญ่วัดมิ่งบ้านมิ่งเมืองเห็นว่าสมกับเกียรติยศเป็นที่เชิดหน้าชูตามีสง่าราศรีความนิยมเช่นนนั้นก็เลยลุกลามมาถึงประชาชนทั่วไปใครสามารถพอจะทำได้ก็ทำและตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ในวัดจึงเต็มไปด้วยธาตุเจดีย์สร้างขึ้นมาเพื่อบรรจุอัฐิซึ่งไม่เป็นระเบียบเหมือนในปัจจุบัน

 


               ปี พ.ศ. 2462พระครูพนมคณาจารย์เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุและเจ้าคณะจังหวัดนครพนมได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมคือพระยาพนมนครานุรักษ์(อุ้ย นาครทรรภ)ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้เฒ่าผู้แก่หลักบ้านหลักเมืองและนิมนต์พระสงฆ์พระผู้ใหญ่ในวัดเข้าร่วมประชุมโดยได้แถลงต่อที่ประชุมว่าอยากจะรื้อถอนธาตุเจดีย์เก่าแก่คร่ำคร่าอันระเกะระกะไม่เป็นระเบียบอยู่ในวัดมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่แถวมุมโบสถ์ด้านเหนือและด้านตะวันตกจะทำให้วัดคับแคบลงมากจากธาตุเจดีย์เก่า ๆ ถ้าหากว่ารื้ออกแล้วบริเวณวัดก็จะโล่งกว้างขวางขึ้นหลังจากนั้นก็มีการรื้อถอนพระธาตุเล็กพระธาตุน้อยออกแล้วสร้างพระธาตุนครขึ้นมาใหม่
ในการก่อสร้างประธาตุเจดีย์นี้ในส่วนที่เป็นลวดลายอันวิจิตรบรรจงตระการตาตลอดจนถึงทรวดทรงขนาดและสัดส่วนนั้นเป็นฝีมือของญาท่าวบุบ้านหว้านใหญ่อำเภอมุกดาหารและท่าวม้าวบ้านเสาเล้าอำเภอท่าอุเทน

หลักฐานพระธาตุนครมีลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ5.85เมตร สูง24เมตรมีรูปร่างตามแบบพระธาตุพนมองค์เดิมรูปทรงตั้งบนฐานใหญ่2ฐานต่อลดหลั่นกันตามลำดับแต่ละฐานมีรูปประตูอยู่ตรงกลางบนประตูเป็นรูปคล้ายบัวบานมีรูปและลายต่าง ๆ ข้างประตูทำเป็นลายเครือไม้ดอกไม้ผลรูปพระราชาทรงช้างทรงม้าต่อจากฐานใหญ่ทั้งสองขึ้นไปแล้วก็มีลักษณะแหลมเรียวขึ้นไปตามลำดับตอนกลางในด้านทั้งสี่วิจิตรไปด้วยหมู่ดาวกระจาย(ดอกกระจับ)สูงถัดขึ้นไปทำเป็นรูปตู้หนังสือ พระไตรปิฎกโบราณต่อขึ้นไปอีกแล้วทำเป็นรูปลักษณ์คล้ายกลีบบัวอีกที่ยอดสุดก็คล้ายดอกบัวตูมต่อจากนี้จึงเป็นฉัตรทองแดงเหลืองเจ็ดชั้นยอดฉัตรนี้มีลูกแก้วเจียรไน1ดวงอยู่สูงสุดยอด ฐานมีกำแพงล้อมรอบทั้ง4ด้าน มีซุ้มประตูอยู่ตรงการทุกด้านเหนือซุ้มประตูมีรูปปั้นเทพนั่งขัดสมาธิประนมมือ(เทพพนม)ซึ่งเป็นเทพมเหศักดิ์พิทักษ์พิทักษ์รักษาองค์พระธาตุที่มุมกำแพงมีเสาสูงขึ้นแล้วทำเป็นดอกบัวตูมบนยอดเสาภายในกำแพงกว้างด้านละ13.30เมตรนอกกำแพงมีธาตุดูกล้อมอีกชั้นหนึ่งบนธาตุนั้นเป็นที่สำหรับวางดอกไม้ธูปเทียนในคราวมีงานพิธีต่าง ๆ

พระธาตุเจดีย์องค์นี้ก่อสร้างเสร็จสิ้นลงในวันเดือนเพ็ญของปี พ.ศ. 2465จึงได้มีการกำหนดวันที่จะทำการฉลอง เพื่อบรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุพร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำและเงินบรรจุผอบไม้จันทร์แดงที่ได้มาจากพระธาตุเจดีย์องค์เดิมนั้นเองทั้งยังได้เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสได้นำเครื่องลางของขลังครุฑ ขอ นอ งา ตะกรุด หรือเพชรนิลจินดาเงินทองตลอดจนพระพุทธรูปเก่าแก่และของมีค่าอื่นใดที่พระสงฆ์จะนำเข้าบรรจุไว้ก็ย่อมทำได้แล้วตกลงพร้อมกันกำหนดวันจัดงานฉลองสมโภชขึ้นในวันขึ้น13ค่ำ ถึงวันแรม1ค่ำเดือน6ปี พ.ศ. 2465ส่วนงานฉลองสมโภชซึ่งถือเป็นงานประจำปีในวันขึ้น15ค่ำ เดือน5ของทุก ๆ ปี อายุ ราว70 -- 80ปี